รูปร่างและลักษณะของโครโมโซม

โครโมโซมในระยะเมทาเฟส และระยะแอนาเฟสของการแบ่งเซลล์เป็นระยะที่โครโมโซมมีการหดตัวสั้นที่สุดและขนาดค่อนข้างที่จะคงที่ จึงเหมาะสมที่จะนำมาศึกษารูปร่างของโครโมโซม (chromosome  structure) จัดแบ่งโดยการอาศัยตำแหน่งของเผวนโทรเมียร์ แบ่งได้เป็น 4 ชนิด  คือ
                1. เมทาเซนทริก (metacentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีจุดเซนโทรเมียร์ อยู่บริเวณกลางๆ แขนทั้งสองข้างจึงมีขนาดเท่าๆกัน
                2.ซับเมทาเซนทริก ( submetacentric  chromosome ) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ ค่อนข้างไปทางด้านใดด้านหนึ่งทำให้แขนของโครโมโซมยาวไม่เท่ากันด้านหนึ่งยาวด้านหนึ่งสั้น
                3.อะโครเซนทริก  (acrocentric  chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์ตั้งอยู่ใกล้ปลายสุดของด้านใดด้านหนึ่งมากจนทำให้แขนข้างหนึ่งสั้นมากนอกจากนี้บนแขนสั้น (Short  arm) ยังอาจมีรอยคอดที่ 2 (secondary  constriction) ทำให้ปลายติ่งมีลักษณะกลมเรียกว่า  แซทเทลไลต์ (Satellite)
                4.เทโลเซนทริก (telocentric chromosome) เป็นโครโมโซมที่มีเซนโทรเมียร์อยู่ปลายสุดทางปลายใดปลายหนึ่งทำให้โครโมโซมมีเพียงแขนเดียว

ในระยะแอนาเฟสมีการดึงเซนโทรเมียร์ไปยังขั้วทั้งสองขั้วของเซลล์ใหม่ทำให้โครโมโซมมีรูปร่างต่างกัน เช่น  พวก เมทาเซนทริกเป็นรูปร่างตัววี (V shape) ซับเมทาเซนทริกเป็นรูปตัว เจ (J shoape) และอะโครเซนทริกและเทโลเซนทริกเป็นรูปตัวไอ (I shape) เป็นต้น
โครโมโซมแต่ละโครโมโซมประกอบด้วย ส่วนต่างๆ คือ
               1. เซนโทรเมียร์ มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่นไคนีโทคอร์ (kinetochre) หรือ ไพรมารี
คอนสตริกชัน เป็นตำแหน่งที่แขนทั้งสองข้าง ของโครโมโซมมาพบกัน ซึ่งเป็นที่อยู่ของโปรตีนชนิดพิเศษและ DNA และมีสปินเดิลจำนวนมากประกอบอยู่ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของโครโมโซมไปยังขั้วของเซลล์ จากปกติเซนโทรเมียร์จะแบ่งตัวตามยาวในระยะแอนาเฟส แต่ถ้าหากแยกกันตามขว้างจะทำให้โครโมโซมที่แยกออกจากกันผิดปกติ

              2.โครโมนีมาตา  ภายในโครโมโซมหรือโครมาทิดประกออบด้วยหน่วยย่อยคือโครมานีมาตา ซึ่งลักษณะเส้นใยยาวขดตัวจำนวนมากมายซึ่งก็คือ DNA และโปรตีนนั่นเอง

                3. เมทริกซ์  เป็นส่วนที่ล้อมรอบโครโมนีมาตา มีผนังเป็นปลอก ยังไม่ทราบหน้าที่แน่นอน แต่เป็นไปได้ว่า ช่วยทำให้โครมานีมาตารวมตัวกันเป็นโครโมโซมได้สะดวกขึ้น และช่วยห่อหุ้มยีนในขณะแบ่งเซลล์ด้วย
             4. แซทเทลไลต์ คือส่วนสั้นๆที่อยู่บริเวณปลายๆของโครโมโซมเกิดจากการคอดโครโมโซมอีกตำแหน่งนี้ และเรียกบริเวณที่มีโครโมโซมซึ่งมีการสร้างนิวครีโอลัสว่า นิวคลีโอลาร์ ออร์แกไนซิง รีเจีย

สัตว์
ชื่อสามัญ(ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์
จำนวนโครโมโซมทั้งหมด
1.             คน
              Homo spiens
46
2.             สุนัข
              Canis familiaris
 78
3.             แมว
              Felis domestica
38
4.             ม้า
              Equus caballus
64
ตาราง แสดงจำนวนโครโมโซมของสัตว์
พืช
ชื่อสามัญ(ไทย)
ชื่อวิทยาศาสตร์
จำนวนโครโมโซมทั้งหมด
1.             มะละกอ
               Carica papaya
18
2.             กาแฟ
               Coffea arabica
44
3.             ทานตะวัน
     Helianthus annuus
34
4.             ยาสูบ
     Nicatiana tabacum
48
ตาราง แสดงจำนวนโครโมโซมของพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น