ปี พ.ศ.
2493-2494 เอ็ม เอช เอฟ วิลคินส์ (M. H.F.
Wilkins) และ โรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษได้ศึกษาโครงสร้างของ
DNA ในสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
โดยใช้เทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชัน(X-ray diffraction) โดยการฉายรังสีเอกซ์ผ่านผลึก
DNA การหักเหของรังสีเอกซ์ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม
ได้ภาพถ่ายที่ชัดเจนมาก ดังภาพที่ 5-2
จากภาพถ่ายนี้นักฟิสิกส์แปลผลได้ว่าโครงสร้างของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
มีลักษณะที่คล้ายกันมาก คือประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย มีลักษณะเป็นเกลียว
เกลียวแต่ละรอบมีระยะห่างเท่าๆกัน จากผลการศึกษาทำให้เข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของ DNA
ปี พ.ศ. 2496 เจ
ดี วอตสัน (J.D. Watson) นักชีวเคมีชาวอเมริกัน
และ เอฟ คริก (F. Crick) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ
ได้เสนอแบบจำลองโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ที่สมบูรณ์ที่สุด
โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากโครงสร้างทางเคมีของส่วนประกอบของโมเลกุล DNA จากผลการทดลองของชาร์กาฟฟ์ที่แสดงให้เห็นว่า DNA มีเบส
A เท่ากับ T และเบส C เท่ากับ G และภาพจากเทคนิคเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกชันของผลึก
DNA โดยนักฟิสิกส์ นำความรู้ที่ได้มารวมกันเป็นแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างของ
DNA
จากข้อมูลของชาร์กาฟฟ์ทำให้วอตสันและคลิกพยายามหาพันธะเคมีที่จะเชื่อมพอลินิวคลีโอไทด์
2 สายให้ติดกัน ต่อมาได้พบว่าพันธะดังกล่าวคือพันธะไฮโดรเจน
ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างคู่เบส แม้ว่าจะไม่แข็งแรง
แต่เมื่อมีจำนวนมากก็จะมีความแข็งแรงพอที่จะยึดสายพอลินิวคลีโอไทด์ 2
สายให้เข้าคู่กันได้ และจากการศึกษาโครงสร้างของเบสทั้ง 4 ชนิด พบว่าระหว่างเบส A กับ T สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้
2 พันธะ และระหว่างเบส C และ G เกิดได้
3 พันธะ
หลังจากนั้นวอตสันและคริกจึงสร้างแบบจำลอง
DNA ตามแนวคิด โดยให้พอลินิวคลีโอไทด์ 2
สายเรียงสลับทิศกันปลาย 3' ของสายหนึ่งเข้าคู่กับปลาย 5' ของอีกสายหนึ่ง เบส A ของสายหนึ่งตรงกับเบส T ของอีกสายหนึ่ง และเบส C ของสายหนึ่งตรงกับเบส G ของอีกสายหนึ่งเสมอ จากนั้นจึงเสนอโครงสร้างโมเลกุลของ DNA ว่าประกอบด้วยพอลินิวคลีไทด์ 2 สาย เบสในแต่ละสายของ DNA ที่เป็นเบสคู่สม (complementary base pair) ยึดกันด้วยพันธะไฮโดรเจนโดยมีเบส A จับคู่กับเบส Tและเบส C จับคู่กับเบส G
โดยมีทิศทางจากปลาย 5' ไปยังปลาย 3'
แต่สวนทางกันและพันกันเป็นเกลียวคู่(double helix)
เวียนขวาตามเข็มนาฬิกา
เกลียวแต่ละรอบห่างเท่าๆกันและมีคู่เบสจำนวนเท่ากันโครงสร้างเกลียวคู่ทำให้โครงสร้างของ
DNA
มีลักษณะคล้ายบันไดเวียน
โดยมีน้ำตาลดีออกซีไรโบสจับกับหมู่ฟอสเฟตเป็นราวบันได(backbones) และบันไดแต่ละขั้นคือ คู่เบส 1 คู่
จากภาพโครงสร้างของ DNA พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย อยู่ห่างกัน 20 อังสตรอม(Å)
เกลียวแต่ละรอบยาว 34 อังสตรอม แต่ละนิวคลีไทด์มีระยะห่างกัน 3.4 อังสตรอม
นักเรียนได้ศึกษามาแล้วว่าโครงสร้างของ DNA
ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์จำนวนมาก แม้ว่า DNA
จะมีนิวคลีโอไทด์เพียง 4 ชนิด แต่โมเลกุลของ DNA
มีความแตกต่างกันได้หลายชนิด
แต่ละโมเลกุลอาจประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์หลายพันคู่จนถึงแสนคู่ ตัวอย่างเช่นถ้า DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุลเรียงกัน
จะสามารถจัดเรียงให้แตกต่างกันได้ 16 แบบ (42) ดังนั้นถ้าโมเลกุล DNA ประกอบด้วยนิวคลีไทด์จำนวนมาก
การเรียงลำดับของเบสก็จะแตกต่างกันมากด้วยเช่นเดียวกัน
ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ มีหลายลักษณะ และลำดับเบสของ
DNA
ซึ่งเกิดจากเบสชนิดต่างๆ
กันนั้นมีหลายรูปแบบก็น่าจะมากพอที่จะทำหน้าที่ควบคุมหรือกำหนดลักษณะ
พันธุกรรมต่างๆได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ DNA
กำหนดและควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร
จากประเด็นคำถาม “เป็นไปได้หรือไม่ว่าเบส A จับคู่กับเบส
T และแบส C จับคู่กับเบส G ถ้าเป็นดังที่กล่าวแล้วโครงสร้างของ DNA น่าจะเป็นอย่างไร”
ที่กำหนดและผลจากการสืบค้นข้อมูลนักเรียนสามารถสรุปได้ว่า
วิลคินส์และแฟลงคลินศึกษาโครงสร้างของ DNA จากการฉายรังสีเอกซ์ผ่านผลึก
DNA จะเกิดการหักเหของรังสีเอกซ์ทำให้เกิดภาพบนแผ่นฟิล์ม
วินคินส์และแฟลงคลิน ใช้ประจักษ์พยานมาแปลข้อมูลทำให้ทราบว่า
1.สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ มีโครงสร้างของ DNA คล้ายกันมาก
2. DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย
3. พอลินิวคลีโอไทด์มีลักษณะเป็นเกลียว
4. เกลียวของพอลินิวคลีโอไทด์แต่ละรอบมีระยะห่างเท่ากัน วอตสันและคริกได้สร้างแบบจำลองโมเลกุลของ DNA โดยนำข้อมูลจากการค้นพบของ นิวคลีโอไทด์และแฟลงคลิน และการสืบค้นที่เกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA นำมาสร้างแบบจำลองของ DNA ดังนี้
2. DNA ประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์มากกว่า 1 สาย
3. พอลินิวคลีโอไทด์มีลักษณะเป็นเกลียว
4. เกลียวของพอลินิวคลีโอไทด์แต่ละรอบมีระยะห่างเท่ากัน วอตสันและคริกได้สร้างแบบจำลองโมเลกุลของ DNA โดยนำข้อมูลจากการค้นพบของ นิวคลีโอไทด์และแฟลงคลิน และการสืบค้นที่เกี่ยวกับโครงสร้างของ DNA นำมาสร้างแบบจำลองของ DNA ดังนี้
1. สร้างพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย โดยปลาย 3' ของพอลินิวคลีโอไทด์สายหนึ่งจับกับปลาย 5' ของ สายพอลินิวคลีโอไทด์อีกสายหนึ่ง แต่ละสายมีทิศทางจากปลาย 5' ไปยังปลาย 3' เรียงสลับทิศทางกัน
2. ให้เบส A จับกับเบส T และเบส C จับกับบเส G
3. เบส A ยึดกับเบส T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ เบส C ยึดกับเบส G ด้วยพันะไฮโดรเจน 3 พันธะ
4. พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย พันกันบิดเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดเวียน โดยมีน้ำตาลดีออกซีไรโบสจับหมู่ฟอสเฟตคล้ายเป็นราวบันได
5. เกลียวแต่ละรอบห่างเท่ากัน 34 A° และคู่เบสแต่ละคู่ห่างกัน 3.4 A° และพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายห่างกัน 20 A°
2. ให้เบส A จับกับเบส T และเบส C จับกับบเส G
3. เบส A ยึดกับเบส T ด้วยพันธะไฮโดรเจน 2 พันธะ เบส C ยึดกับเบส G ด้วยพันะไฮโดรเจน 3 พันธะ
4. พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย พันกันบิดเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดเวียน โดยมีน้ำตาลดีออกซีไรโบสจับหมู่ฟอสเฟตคล้ายเป็นราวบันได
5. เกลียวแต่ละรอบห่างเท่ากัน 34 A° และคู่เบสแต่ละคู่ห่างกัน 3.4 A° และพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายห่างกัน 20 A°
โยฮันน์ เกรกอร์
เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย
และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน ถึงเรื่องพันธุกรรมด้วย
เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะด้านพันธุศาสตร์
เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ
เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856
เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วลันเตา( Pisum sativum )หลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล
จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural
History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและอเมริกาในปีต่อมา
ปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง
34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900
ได้มีนักชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล
คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ
และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก
ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ เมนเดลยังได้รับการยกย่องว่าเป็น
บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
สิ่งมีชีวิตที่ควรเลือกมาใช้ในการศึกษาทางพันธุศาสตร์
ควรมีลักษณะดังนี้
1. ปลูกง่าย อายุสั้น ผลดก
2. มีการแปรผันมาก
มีความแตกต่างของลักษณะที่ต้องศึกษาชัดเจนและสามารถหาพันธุ์แท้ได้ง่าย
3. มี RECOMBINATION คือการรวมกันของลักษณะของพ่อและแม่เมื่อมีการผสมพันธุ์
4. ความคุมการผสมพันธุ์ได้สามารถกำหนดให้มีลักษณะต่างๆเข้าผสมกันได้ตามต้องการ
การทดลองของเมนเดล
เมนเดลประสบผลสำเร็จในการทดลอง
จนตั้งเป็นกฎเกี่ยวกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่มายังลูกหลานในช่วงต่อๆมาได้เนื่องจากสาเหตุสำคัญสองประการคือ
1. เมนเดลรู้จักเลือกชนิดของพืชมาทำการทดลอง
พืชที่เมนเดลใช้ในการทดลองคือถั่วลันเตา (Pisum sativum) ซึ่งมีข้อดีในการศึกษาด้านพันธุศาสตร์หลายประการ
เช่น
1.1 เป็นพืชที่ผสมตัวเอง (self-
fertilized) ซึ่งสามารถสร้างพันธุ์แท้ได้ง่าย
หรือจะทำการผสมข้ามพันธุ์ (cross-fertilized) เพื่อสร้างลูกผสมก็ทำได้ง่ายโดยวิธีผสมโดยใช้มือช่วย
(hand pollination)
1.2 เป็นพืชที่ปลูกง่าย
ไม่ต้องทำนุบำรุงรักษามากนัก ใช้เวลาปลูกตั้งแต่ปลูก
จนถึงเก็บเกี่ยวภายในหนึ่งฤดูปลูก (growing season) หรือประมาณ
3 เดือน เท่านั้น และยังให้เมล็ดในปริมาณที่มากด้วย
1.3 เป็นพืชที่
มีลักษณะทางพันธุกรรม ที่แตกต่างกันชัดเจนหลายลักษณะ ซึ่งในการทดลองดังกล่าว
เมนเดลได้นำมาใช้ 7 ลักษณะด้วยกัน
2. เมนเดลรู้จักวางแผนการทดลอง
2.1
เลือกศึกษาการถ่ายทอดลักษณะของถั่วลันเตาแต่ละลักษณะก่อน
เมื่อเข้าใจหลักการถ่ายทอดลักษณะนั้น ๆ แล้ว
เขาจึงได้ศึกษาการถ่ายทอดสองลักษณะไปพร้อม ๆ กัน
2.2 ในการผสมพันธุ์จะใช้พ่อแม่
พันธุ์แท้ (pure line) ในลักษณะที่ตรงกันข้ามกัน
มาทำการผสมข้ามพันธุ์เพื่อสร้างลูกผสมโดยใช้มือช่วย (hand pollination )
2.3 ลูกผสมจากข้อ 2.2 เรียกว่าลูกผสมช่วงที่ 1 หรือ F1( first
filial generation) นำลูกผสมที่ได้มาปลูกดูลักษณะที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร
บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
2.4 ปล่อยให้ลูกผสมช่วงที่ 1 ผสมกันเอง ลูกที่ได้เรียกว่า ลูกผสมช่วงที่ 2 หรือ F2(
second filial generation) นำลูกช่วงที่ 2
มาปลูกดูลักษณะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร บันทึกลักษณะและจำนวนที่พบ
ลักษณะต่าง
ๆ ของถั่วลันเตาที่เมนเดล ใช้ในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม
1. ลักษณะของเมล็ด - เมล็ดกลม และ เมล็ดย่น (round & wrinkled)
2. สีของเปลือกหุ้มเมล็ด - สีเหลือง และ สีเขียว (yellow & green)
3. สีของดอก - สีม่วงและ สีขาว (purple & white)
4. ลักษณะของฝัก - ฝักอวบ และ ฝักแฟบ (full & constricted)
5. ลักษณะสีของฝัก - สีเขียว และ สีเหลือง (green & yellow )
6. ลักษณะตำแหน่งของดอก-ดอกติดอยู่ที่กิ่ง และเป็นกระจุกที่ปลายยอด (axial
& terminal)
7. ลักษณะความสูงของต้น - ต้นสูง และ ต้นเตี้ย (long & short)
ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ของเมนเดล
1. การถ่ายทอดลักษณะหนึ่งลักษณะใดของสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมโดยปัจจัย (fector)
เป็นคู่ๆ ต่อมาปัจจัยเหล่านั้นถูกเรียกว่า ยีน (gene)
2. ยีนที่ควบคุมลักษณะต่างๆจะอยู่กันเป็นคู่ๆ
และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปได้
3. ลักษณะแต่ละลักษณะจะมียีนควบคุม 1 คู่
โดยมียีนหนึ่งมาจากพ่อและอีกยีนมาจากแม่
4. เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์(gamete) ยีนที่อยู่เป็นคู่ๆจะแยกออกจากกันไปอยู่ในเซลล์สืบพันธุ์ของแต่ละเซลล์และยีนเหล่านั้นจะเข้าคู่กันได้ใหม่อีกในไซโกต
5. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในรุ่น F1 ไม่ได้สูญหายไปไหนเพียงแต่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ 6. ลักษณะที่ปรากฏออกมาในรุ่น F1 มีเพียงลักษณะเดียวเรียกว่า ลักษณะเด่น ( dominant)
ส่วนลักษณะที่ปรากฏในรุ่น F2 และมีโอกาสปรากฏในรุ่นต่อไปได้น้อยกว่า
เรียกว่า ลักษณะด้อย(recessive)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น