โครโมโซมของคนศึกษาได้จากเซลล์ไขกระดูกและเซลล์เม็ดเลือดขาดชนิดลิมโพไซต์
ทำได้โดยเจาะเลือดแล้วแยกเซลล์ลิมโฟไซต์ออกมาเพาะเลี้ยงในอาหารที่ใส่สารกระตุ้นให้เซลล์ลิมโฟไซต์แบ่งตัวหลังจากบ่มที่อุรหภูมิ
37 องศาเซลเซียล เป็นเวลา 2-3
วัน เซลล์จะแบ่งตัวและอยู่ในระยะเมทาเฟสจำนวนมาก
การทำให้เซลล์อยู่ในระยะเมทาเฟสมากๆทำได้ โดยการใส่สารยับยั้งไมโทซิส เช่น
โคลชิซินลงไป เส้นใยสปินเดิลจะถูกทำลายทำให้โครโมโซมไม่แยกออกจากกัน และจะอยู่ในระยะเมทาเฟสมากๆ
เมื่อใส่สารละลายที่เจือจาง เช่น
น้ำกลั่นทำให้เซลล์กระจายตัวไม่ทับซ้อนกันทำให้เห็นโครโมโซมชัดเจน
ต่อจากนั้นย้อมด้วยสีจิมซาจะได้แถบขวางของโครโมโซมซึ่งติดสีย้อมไม่เท่ากัน
เมื่อกระทบแสงจาก
อุลตราไวโอแลตจะเรืองแสง
จึงปรากฏให้เห็นป็นแถบติดสีเข้มจางต่างกันบนโครโมโซม เรียกแถบสีนี้ว่า แถบสีจี ( G – band )
โครโมโซมร่างกายของคนมี 46 โครโมโซม นำมาจัดเป็นคู่ๆได้ 23 คู่ โดยมี 22
คู่แรกเป็นโครโมโซมที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่างๆของร่างกาย เรียกว่า ออโตโซม ( autosome ) ส่วนอีกคู่ เป็นโครโมโซมเพศ ในเพศหญิงและเพศชายจะต่างกัน
คือเพศหญิงจะเป็น XX เพศชายเป็น XY
การจัดเรียงโครโมโซมเป็นคู่ๆ และแบ่งเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า คารีโอไทป์
การเกิดเพศหญิงและเพศชาย
เซลล์เพศที่ถูกสร้างขึ้นมาแต่ละเซลล์จะมีโครโมโซมเพศเพียงชุดเดียวโดยที่เซลล์สืบพันธุ์
เพศชาย (สเปิร์ม) จะมีเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งมีโครโมโซม 2 ชนิด
คือ 22+X หรือ 22+Y ส่วนเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิง
จะมีโครโมโซมได้เพียงชนิดเดียว คือ 22+X ดังนั้นโอกาสในการเกิดทารกเพศหญิง
(โครโมโซม 44+XX) หรือทารกเพศชาย (โครโมโซม 44+XY) จึงเท่ากัน ขึ้นอยู่กับ สเปิร์มที่เข้าผสมกับไข่จะเป็นสเปิร์มชนิดใด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น